วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่6




 ของเล่นทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรม โทรศัพท์แก้ว
ของเล่นนั้น ใครว่าไม่สำคัญ ของเล่นนั้น มีบทบทาทในการพัฒนาทางกายและใจเด็กๆเช่นกัน นอกจากจะทำให้เด็กๆเหลิดเพลินใจแล้ว ยังเป็นการสอนให้เด็กๆรู้จักการใช้ประสาทสัมผัส และอวัยวะต่างๆ( ในที่นี้ ตา นิ้วมือ สมอง) ซึ่งเป็นผลดีต่อเด็กๆอีกด้วยซึ่งการทดลองทำโทณศัพท์แก้วนั้น สามารถทำได้ง่าย หาอุปกรณ์ได้ง่ายไม่ยุ่งยากและยังเป็นอีกกิจกรรมการทดลองที่น่าสนใจให้กับเด็กๆด้วย
อุปกรณ์
แก้วน้ำพลาสติก 2 ใบ
เส้นด้าย
เข็ม
กรรไกร
ไม้จิ้มฟัน 2 อัน
ขั้นตอนการทำ
1. นำแก้วนำมาเจาะรูที่ก้นแก้วหนึ่งรู
2. สอดด้ายยาวประมาณ 2-3 เมตร เข้าไปที่ก้นของแก้วน้ำ
3. ผูกด้ายที่ตรงกลางของไม้จิ้มฟันทั้ง 2 อัน ให้เชื่อมกันโดยให้ไม้จิ้มฟันอยู่ในแก้ว(ซึ่งครูต้องช่วยทำ เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ)
จุดประสงค์
1. เพื่อฝึกส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
2. เพื่อฝึกการแสดงความคิดเห็น
3. เพื่อฝึกการเปรียบเทียบ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
1. อธิบายการทำโทรศัพท์แก้ว ตามขั้นตอนได้
2. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเชือกที่หย่อนและตรึง
3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ขั้นตอนดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
ขั้นที่1 ขั้นกำหนดปัญหา
ครู : แนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์พร้อมใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กกำหนดปัญหา “ เด็กๆคิดว่าเวลาเด็กๆห่างจากคุณพ่อคุณแม่และต้องการจะคุยกับท่านเด็กๆจะทำอย่างไรค่ะ ”
ขั้นที่2 ขั้นตั้งสมมติฐาน
เด็กคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ของปัญหา เช่น การส่งจดหมาย  โทรศัพท์ เป็นต้น
ขั้นที่3 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ทดลองปฏิบัติโดยเด็กพิจารณาปัญหา เลือกวิธีแก้ปัญหาและลงมือทำกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา
เด็ก : ลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ เด็กเปรียบเทียบเชือกที่หย่อนและตรึง
ครู : คอยแนะนำให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ
ขั้นที่4 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ครู : ถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผลจากกระบวนการทำกิจกรรมดังนี้
- เชือกมีหน้าที่อะไร
ขั้นสรุป
ขั้นที่5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป
ครูและเด็ก : ร่วมกันสรุปขั้นตอนการทำโทรศัพท์แก้วและประโยชน์ของโทรศัพท์แก้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น